วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

แกงตอแมะ





ประโยชน์

นิยมรับประทานเป็นอาหารประจำวัน  หรือเลี้ยงรับรองในงานของชาวมุสลิม หรือเลี้ยงรับรองแขกบ้านต่างเมืองที่เข้ามาเยี่ยมจังหวัดสตูล นิยมรับประทานกับข้าวสวยหรือข้าวมัน    (คือข้าวหุงโดยใช้กระทิมะพร้าว) พริกสด และพริกน้ำปลา ทำให้รับประทานอาหารได้ ผู้รับประทานไม่เบื่อง่าย ไม่เผ็ด รสหวานมันมีกลิ่นหอมจากเครื่องเทศและใบหมุยเทศ

ขั้นตอนการทำแกงตอแมะ

1.ผสมเครื่องแกงกับกะปิให้เข้ากันเติมกะทิเล็กน้อย
2.เจียวกระเทียมและหอมซอย
3.ใส่เครื่องแกงและกะทิเล็กน้อยโขลกเข้ากันจนเครื่องแกงสุก
4.เติมกะทิรอจนน้ำแกงเดือด เติมน้ำมะขามเปียก และเกลือชิมรสตาม    ต้องการ
5.ใส่เนื้อปลา เมื่อปลาสุกเติมหางกะทิ
6.ใส่ใบหมุยเทศ



วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ส่วนผสมแกงตอแมะ


ส่วนผสม
1.น้ำมันพืช
2.กระเทียมหั่นฝอย
3.หอมหั่นฝอย
4.ปลาสด
5.ใบหมุยเทศ(ใบกาลาปอแล)
6.กะปิ
7.เครื่องแกงสำเร็จรูป
เครื่องปรุง
1.กะทิ
2.เกลือ
3.น้ำมะขามเปียก





วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายงานความคืบหน้าโครงงาน ครั้งที่ 2

ชื่อโครงงาน  หนังสืออิเล็คทรอนิกส์ เรื่องอาหารพื้นบ้าน "แกงตอแมะ"
สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวจุฑารัตน์  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต เลขที่ 17
2.นางสาวชุติมา  แก้วอารี เลขที่ 18
3.นางสาวสุธิตา  สุบาโกย เลขที่ 26

ความคืบหน้าของโครงงาน : ประวัติความเป็นมา แกงตอแมะ
              แกงตอแมะ เป็นแกงชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวมุสลิมในรัฐเปอร์ลิส  ประเทศมาเลเซีย มาจากคำว่า ตูมิห์ (TUMIH)  หมายถึง การผัดเครื่องแกงคลุกเคล้าให้เข้ากับน้ำกะทิสดหรือน้ำมัน สำหรับในประเทศไทย เรียกว่า ตอแมะห์ นิยมรับประทานกันในกลุ่มชาวไทยมุสลิมภาคใต้ (สตูล ยะลา ปัตตานีและนราธิวาส) ใช้รับประทานกับข้าวมัน ข้าสวย หรือขนมประเภทโรตี  เป็นอาหารประจำวันมื้อสำคัญคือ เช้า เที่ยง หรือมื้อเย็นก็ได้ ถ้ารับประทานกับโรตีส่วนมากมักจะรับประทานตอนเช้า มีเครื่องปรุงหลายอย่าง  ได้แก่ ปลาสด น้ำกะทิสด เกลือ มะขามเปียก ขมิ้น พริกแห้งเมล็ดใหญ่ กระเทียม หัวหอมแดง เมล็ดบาลาบา เมล็ดซาหวี เมล็ดผักชี เมล็ดข้าวเล็ก เมล็ดข้าวใหญ่ และใบกาลาปอแหล (ใบสมุยเทศ)  
              แต่ในปัจจุบันนิยมใช้เครื่องแกงสำเร็จรูปแทน  เพราะสะดวกต่อการปรุงอาหารและหาซื้อง่าย

ในปัจจุบันแกงตอแมะกลายมาเป็นอาหารพื้นเมืองของชาวสตูล ก็เพราะว่า ในอดีตคนสตูลส่วนหนึ่งได้เข้าไปทำงานในประเทศมาเลเซีย  โดยมีอาชีพรับจ้าง ทำนา และได้เรียนรู้สูตรอาหารต่างๆจากคนในพื้นที่อย่างเช่น แกงตอแมะ ในปัจจุบันแกงตอแมะเป็นที่รู้จักกันในครอบครัวคนมุสลิมและบุคคทั่วไป
นิยมทำเป็นอาหารกินกันเกือบทุกครอบครัว

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายงานความคืบหน้า โครงงานครั้งที่ 1 วันที่ 12 สิงหาคม 2556

ชื่อโครงงาน  หนังสืออิเล็คทรอนิกส์ เรื่ิองอาหารพื้นบ้าน "แกงตอแมะ"
สมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวจุฑารัตน์  รัตนดิลก ณ ภูเก็ต เลขที่ 17
2.นางสาวชุติมา  แก้วอารี เลขที่ 18
3.นางสาวสุธิตา  สุบาโกย เลขที่ 26
       ความคืบหน้าของโครงงาน : กลุ่มของดิฉันได้มีการลงพื้นที่หาข้อมูล                                     โดยส่งตัวแทนกลุ่มคือ นางสาวสุธิตา  สุบาโกย เป็นผู้หาข้อมูล และสาธิตวิธีการทำอาหารพื้นบ้าน


วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556